หนู (Rodents)

ลักษณะ/ชนิด

หนูในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิดเท่าที่พบมี 36 ชนิด เพื่อให้เป็นการง่ายต่อความเข้าใจ เราสามารถจำแนกหนูได้เป็น 4 พวก ตามแหล่งที่อยู่อาศัยดังนี้

1. DOMESTIC RODENTS หนูพวกนี้อาศัยและหากินใกล้คนที่สุด อาศัยในบ้าน อาคารสถานที่บริเวณบ้าน ได้แก่ หนูท้องขาว (RATTUS RATTUS) หนูตัวเล็ก หนูหริ่ง (MUS MUSCULUS หรือ  HOUSE MOUSE) อาหารชอบกิน คือ ผลไม้ ผัก และเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์

2. COMMENSAL RODENTS หนูพวกนี้อาศัยบริเวณบ้าน โดยเฉพาะบริเวณรอบอาคารภายนอก ตามท่อระบายน้ำ กองขยะ ขุดรูอยู่แต่ไม่ชอบเข้าอยู่ตามอาคารบ้านเรือน กินอาหารได้ทุกประเภท มีขนาดใหญ่กว่าหนูพวก DOMESTIC RODENTS ได้แก่ NORVEGICUS หนูท่อ หนูขยะ

3.  FIELD RODENTS หนูพวกนี้อาศัยในทุ่งนา ทุ่งหญ้า ไร่ สวนผลไม้ ขุดรูอยู่ อาหารคือพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่ว ได้แก่ พวกหนูพุกเล็ก (BENDICOTA BENAGLENSIS) หรือหนูพุกใหญ่ (BENDICOTA INDICA) เป็นต้น

4.  WILD RODENTS หนูพวกนี้อาศัยและกินอยู่ในป่า กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช รากพืช ใบ แมลง หอย ปู ปลา เป็นต้น ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนโดยตรงเท่าไรนัก แต่ก็มีความสัมพันธ์และก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขอยู่บ้าง เพราะมันสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่หนูพวกอื่นได้

การเพาะพันธุ์

ชนิดของหนู วัยเจริญพันธุ์ (วัน) ระยะตั้งท้อง(วัน) จำนวนลูก

ต่อครอก

จำนวนครอกต่อปี อายุขัย (ปี)
เพศผู้ เพศเมีย
หนูนอร์เวย์ 90 – 150 80 – 120 21 – 23 4 – 14 6 – 8 2 – 3
หนูท้องขาว 70 – 90 60 – 90 21 – 23 1 – 9 2 – 6 1 – 2
หนูจิ๊ด 60 – 70 60 – 70 20 – 23 3 – 7 3 – 8 1 – 2

ลูกหนูที่เกิดใหม่ลำตัวสีแดง ส่วนตาและใบหูพับปิดสนิท ขนเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 3 – 4 วัน มีขนขึ้นเต็มตัวและหูได้ยินเสียงเมื่ออายุ 8 – 12 วัน ตาเปิดเมื่ออายุ 14 – 17 วัน ลูกหนูอายุ 3 สัปดาห์ เริ่มหย่านมและกินอาหารแข็ง ๆ เมื่ออายุ 1 เดือน ลูกหนูจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์ได้และออกจากรัง

การป้องกันและกำจัด

1.  ลดแหล่งขยะและกำจัดขยะเพื่อลดแหล่งอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย

2.  ควบคุมแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู เช่น กำจัดรูหนูหรือแหล่งอาศัย และการจัดเก็บอาหาร สินค้าให้เป็นระเบียบจะช่วยลดแหล่งอาศัยของหนูได้

3.  การใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น

4.  การใช้สารกำจัดหนู แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

-  ประเภทออกฤทธิ์เร็ว เช่น คูมาเตคตระลิล ฟูมาริน คูมาคลอ เป็นต้น

-  ประเภทออกฤทธิ์ช้า เช่น โบรไดฟาคุม โบรมาดิโอโลน เป็นต้น